ทำเนียบผู้บริหาร
ว่าที่ร้อยโท จิรายุศ จินาวัลย์
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร
ปัจจุบัน
นายปัญญา ซื่อสัตย์
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร
14 ต.ค. 62- 30 ก.ย. 64
นายวิโรจน์ ธิมา
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร
13 ธ.ค. 59-14 ต.ค. 62
นายกิตติพงษ์ บุตรบุราณ
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร
26 ต.ค. 58-14 พ.ย. 59
นายภูริณัฐ อมรศักดิ์
ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร
23 มิ.ย. 52-14 ก.ย. 58
ปรัชญา
“สิ่งแวดล้อมดี วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม เป็นผู้นำชุมชน“
วิสัยทัศน์
“มุ่งมั่นขับเคลื่อนวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหารด้วยการทำงานเชิงรุกเน้นการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีและประสานความร่วมมือ”
สีประจำวิทยาลัย
ชมพู-ขาว
พันธกิจ
1.) พัฒนาคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาที่พึงประสงค์
2.) พัฒนาการจัดการอาชีวศึกษา
3.) พัฒนาสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
4.) พัฒนามาตรฐานด้านคุณภาพของผู้เรียน
5.) พัฒนาการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ
6.) พัฒนาการบริหารการจัดการ
7.) พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
8.) พัฒนาบุคลากรและการบริหารงานบุคลากร
9.) พัฒนาความดีเด่นของสถานศึกษา
เอกลักษณ์ (Unique)
“องค์กรแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ”
อัตลักษณ์ (Identity)
1. มีวินัย (Discipline)
2. มีความรับผิดชอบ (Responsible)
3. มีสมรรถนะวิชาชีพ (Competencies Skill)
4. มีทักษะภาษาอังกฤษและภาษาจีน (English and Chinese Language Skill)
5. มีทักษะด้านดิจิทัล (Digital Literacy)
6. มีจิตสาธารณะ (Public Mind)
7. มีความซื่อสัตย์ (Honesty)
ค่านิยม (Values)
1.รักษาวัฒนธรรมประเพณี
2.มีวินัย
3.ตรงต่อเวลา
4. กตัญญู
5.การทำงานแบบมีส่วนรวม
6.สังคมแห่งการให้
7.ขยันและอดทน
8.ประหยัด
9.พอเพียง
10. เคารพผู้อาวุโส
กลยุทธ์ (Strategy) : PMTC
1.) การทำงานเชิงรุก (Proactive)
2.) การใช้โครงการเป็นฐาน (Project
based)
3.) กระบวนการทำงาน (Progress)
4.) การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ (Management)
5.) การเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ความสำเร็จ (Change Management)
6.) การใช้ทรัพยากรอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
(Project Management)
7.) เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี (Technology)
8.) การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
9.) ความไว้วางใจในการทำงานร่วมกันในองค์กร (Trust)
10.) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative)
11.) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน (Collaboration)
12.) ความมุ่งมั่นในการทำงาน (Commitment)
ประวัติการก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร
ปี 2550 ได้เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้อาชีวศึกษา โดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยอาศัยและขอใช้อาคารเรียนของโรงเรียนพิบูลมังสาหาร จัดการเรียนการสอน โดยเปิดสอน 4 สาขาวิชาคือ แผนกวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์แผนกวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานไฟฟ้ากำลัง แผนกวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ และแผนกวิชาพาณิชยการ สาขางานการบัญชี จำนวน นักศึกษาเริ่มแรก 130 คน มีครูจ้างสอน 4 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน พี่น้องในชุมชนที่ยากจนมี โอกาสได้เรียนวิชาชีในท้องถิ่นตน แทนการย้อยถิ่นฐานเข้าไปเรียนในเมืองใหญ่ และวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานีได้มอบหมายให้ นายภูริณัฐ อมรศักดิ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี มา ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย
วันที่ 17 ธันวาคม 2551 ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการพิบูลมังสาหาร และได้ย้ายมาขออาศัยอาคารเรียนที่โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนนักศึกษา เพิ่มเป็น 240 คน และเปิดทำการเรียนการสอนเพิ่มอีก 2 สาขาวิชาคือ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์ และ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มีคำสั่งที่ 618/2552 ลงวันที่ 22 เมษายน 2551 ให้ นาย ลิขิต พลเหลา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัย เทคโนโลยีและการจัดการพิบูลมังสาหาร ในขณะนั้นมีครูจ้างสอน จำนวน 7 คน (ยังไม่มีข้าราชการ) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีคำสั่งให้ นายภูริณัฐ อมรศักดิ์ มาบรรจุในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการพิบูลมังสาหาร ตามคำสั่งสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่ 1026/2552 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2552 โดยไม่มีรองผู้อำนวยการ มีจำนวน นักศึกษา 520 คน ครูจ้างสอน 17 คน วันที่ 1 เมษายน 2553 ได้มีพนักงานราชการ ตำแหน่ง ครู จำนวน 4 คน มาช่วยปฏิบัติงาน ประมาณ เดือนธันวาคม 2553 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้บรรจุข้าราชการตำแหน่งครูผู้ช่วย 7 จำนวน อัตรา ยังไม่มีรองผู้อำนวยการและมีครูจ้างสอน 34 คน เจ้าหน้าที่ 14 คน นักเรียนนักศึกษา จำนวน 744 คน
ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ราชพัสดุในการจัดตั้งวิทยาลัยฯ มีพื้นที่ ทั้งหมด 90-0-32 ไร่ ตั้งอยู่ที่ 188 หมู่ 4 บ้านหินสูง ตำบลกุดชมภู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี